วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รายชื่อสมาชิกไฟฟ้าอุตสาหกรรม56

รายชื่อสมาชิก
1. อาจารย์ ธภัทร       ชัยชูโชค              อ. ปาล์ม
2. นาย วัชรินทร์          เขียนวารี            ปอนด์
3. นาย อภิวัฒน์          เจิมขวัญ              กุ้ง
4. นาย อภิเดช            ทองอินทร์          โหนด
5. นายจตุรงค์              หิรัญกูล               นิว
6. นายอาจณรงค์         ราชูภิมนต์          มิค 
7. นายชัยยงค์              ชูแก้ว                  ปั้ม
8. นายสุรศักดิ์              สะเกษ                โจ้
9. นายกฤษกร              สุวรรณวงศ์         เอฟ
10.นายจตุพงค์             ณ สงขลา           พี่พงศ์
11.นายจิรพงศ์              แจ่มศรี                พงศ์  
12.นายเชิดชาย            เรืองฤทธิ์           พี่ชาย
13.นายตวิษ                 เพ็งศรี                  ตวิษ 
14.นายธีรวุฒิ               ศรีสวัสดิ์              วุฒิ 
15.นายนิโรจน์             หวันปรัตน์            ซอล
16.นายปภังกร             เอียดจุ้ย               กิ๊ฟ
17.นายปรินทร์             ผุดผ่อง                บอล  
18.นายพีระพงศ์          จันทร์ชู                 พงศ์  
19.นายภาคภูมิ            จุลนวล                เจ
20.นายรชต                  อารี                     รอล
21.นายรุสดี                  วาลี                     ซี
22.นายวงศธร              อินทมะโน            หลวงหมีด
23.นายวิโรจน์              เหมมาน               ลิฟ
24.นายสมศักดิ์             มากเอียด            กล้วย
25.นายสานิต               มิตสุวรรณ           สานิต  
26.นายสุรเดช              สม่าแห                 ยา
27.นายสุรศักดิ์             สะเกษ                 โจ้ 
28.นายเสะมาดี            ตูแวดาแม            ดี 
29.นายอนิรุตต์             ภาระบุญ              โต๋
30.นายอนุพงษ์            เทพพรหม           ทิว
31.นายอภิสิทธิ์            ยะโกบ                 ดุล
32.นายอับดุลรอมัน     บูกา                      รอมัน
33.นายอับดุลเลาะ       กาโฮง                  เลาะ
34.นายอาคม               เรืองกูล                 แบงค์
35.นายอาจณรงค์        ราชูภิมนต์            มิค
36.นายอานนท์            นาควิเชียร           นนท์
37.นายอาลียะ              สะอุ                     ฟาน
38.นายอาหามะซุบฮี   จะแน                    มะ
39.นายอิสมาแอ          มะยี                      แอ 
40.นายเกรียงศักดิ์        บุญประเสริฐ        เบียร์
41.นายพุฒิพงศ์           หนูนอง                เพชร 
42.นายจิรกิตต์             สุขเกษม              บอย
43.นายนพรัตน์             แก้วกำเนิด          เอ็กซ์
44.นายนันทปรีชา        ปิยะบุญสนอง       โปร
45.นายนิรันดร์              เสมอพบ              แบ
46.นายพิชชากร           มีบัว                     กร
47นางสาวเยาวเรศ      ร่วมพรภาณุ          โรส
48.นายวสุ                    ราชสีห์                 หนัง
49.นายวิฆเนศ              ณ รังษี                หมู
50.นายศุภวัฒน์            ไชยของพรม        รุส
51.นายสมประสงค์        วงศ์สุวรรณ          ทู























เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์แบบริง


โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)
       
  โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง


  เครือข่ายแบบวงแหวน เป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดเช่นเดียวกับแบบดาว โดยสถานีแต่ละสถานีจะต่อกับสถานี ที่อยู่ติดทั้งสองข้างของตนเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของแต่ละสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน สัญญาณข้อมูลจะส่งอยู่ในวงแหวนแบบจุดต่อจุดไปในทิศทางเดียวกันจนถึงผู้รับภายในเวลาที่กำหนด โดยเครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้า และส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนเองหรือไม่ ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป อีกทั้งสามารถตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งด้วย ในกรณีที่เครื่องรับปลายทางไม่ได้รับสัญญาณข้อมูลในเวลาที่กำหนด จะมีการแจ้งว่าเกิดความผิดพลาดในเครือข่ายได้



เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลสายเดียว ในลักษณะวงแหวน ซึ่งมักจะใช้ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์วางอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน ข้อดีของโครงสร้างแบบนี้คือ ใช้สายเคเบิลน้อย และสามารถตัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้ ทำให้ไม่มีผลต่อระบบเครือข่าย ข้อเสียคือหากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงาน ได้เลย และการเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลงก่อน
หลักการรับส่งข้อมูล
  การวิ่งของข้อมูลในเครือข่ายวงแหวนจะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล มันจะส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ มันจะส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ซึ่งจะมีขั้นตอนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จะกว่าจะถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุไว้จากเครื่องต้นทาง

การขยายเพิ่มเติมระบบ
                การขยายเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์เข้ามาในระบบนี้ค่อนข้างยุ่งยากกว่าเครือข่ายแบบ อื่น เพราะทุกครั้งที่เพิ่มคอมพิวเตอร์เข้ามา ก็จะต้องตัดต่อสายเคเบิลเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ซึ่งจะต้องปิดเครือข่ายก่อนจนกว่าจะเชื่อมต่อเสร็จ
  การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
    เมื่อสายเคเบิลช่วงใดขาด เครือข่ายก็ไม่สามารถรับส่งข้อมูลได้จนกว่าจะซ่อมแซมสายช่วงนั้นให้เรียบ ร้อยก่อน แต่จุดที่มีปัญหาในโครงสร้างเครือข่ายแบบนี้หาได้ไม่ยากนัก ซึ่งเครือข่ายแบบวงแหวนนี้มักจะมีวงแหวนคู่ในการรับส่งข้อมูลในทิศทางต่าง ๆ กัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรอง และป้องกันไม่ให้เครือข่ายหยุดทำงานโดยสิ้นเชิง
  ค่าใช้จ่ายในการสร้างเครือข่ายแบบวงแหวนมีค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในวงแหวนทุกตัวจะต้องเชื่อมต่อเข้ากับสายเคเบิลเส้น เดียว ซึ่งจะต้องใช้สายยาวมากขึ้น ถ้าคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องวางอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน

ข้อดี 
ใช้เคเบิลและเนื้อที่ในการติดตั้งน้อย
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
สิทธิในการส่งข้อมูลของแต่ละโหนดภายในเครือข่ายมีความเท่าเทียมกัน
- ประหยัดสายเคเบิล
- การติดตั้งไม่ยุ่งยาก รวมถึงการเพิ่มหรือลดโหนดทำได้ง่าย

ข้อเสีย
หากโหลดใดโหลดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นจะค้นหาได้ยากว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหน และวงแหวนจะขาดออก
ประสิทธิภาพต่ำกว่าแบบอื่น เนื่องจากต้องผ่านอุปกรณ์หลายตัว
- สายเคเบิลที่ใช้เป็นวงแหวน หากเกิดชำรุดเสียหาย เครือข่ายจะหยุดทำงานลง
- หากมีบางโหนดบนเครือข่ายเกิดขัดข้อง จะยากต่อการตรวจสอบและการค้นหาโหนดที่เสีย



แหล่งที่มา :
http://www3.ipst.ac.th/research/assets/web/mahidol/computer%2810%29/network/net_topology8.html



วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทความทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร

ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หมายถึงการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้ช่องทางของระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตเข้าไปเรียนในเว็บไซต์ ที่ออกแบบกระบวนการเรียนการสอนให้มีสภาพแวดล้อมคล้ายกับเรียนในห้องเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและผู้เรียนกับผู้เรียน โดยมีบรรยากาศเสมือนพบกันจริง กระบวนการเรียนการสอนจึงไม่ใช่การเดินทางไปเรียนในห้องเรียนแต่เป็นการเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาของบทเรียนได้โดยผ่านคอมพิวเตอร์

ห้องเรียนเสมือนสามารถจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
       1 จัดการเรียนการสอนในห้องเรียนธรรมดา แต่มีการถ่ายทอดสดภาพและเสียงเกี่ยวกับเนื้อหาของบทเรียนโดยอาศัยระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเรียกว่า Online ไปยังผู้เรียนที่อยู่นอกห้องเรียน นิสิตสามารถรับฟังและติดตามการสอนของผู้สอนได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองอีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกับอาจารย์ผู้สอนหรือเพื่อนนิสิตที่อยู่คนละแห่งได้

       2 ห้องเรียนเสมือนเป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย ที่อาศัยประสิทธิภาพของเทคโนโลยีการสื่อสสารและอินเทอร์เน็ต การเรียนการสอนจึงต้องมีการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์การเรียนการสอนทำได้โดยผู้เรียนใช้คอมพิวเตอร์ เข้าสู่เว็บไซต์ ของห้องเรียนเสมือนและดำเนินการเรียนตามกิจกรรมที่ผู้สอนได้ออกแบบไว้ ห้องเรียนลักษณะนี้เรียกว่า ห้องเรียนเสมือนที่แท้ การเข้าสู่เว็บไซต์ห้องเรียนเสมือนนี้ ภาพที่ปรากฏเป็นหน้าแรก เรียกว่า โฮมเพจ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นชื่อรายวิชาที่สอน ชื่อผู้สอน และข้อความสั้นๆต่างๆที่เป็นหัวข้อสำคัญในการเรียนการสอนเท่านั้น โฮมเพจนี้จะถูกออกแบบต่างๆให้มีความสวยงามด้วยภาพถ่าย ภาพกราฟิก ตัวอักษรและการให้สีสันเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ข้อความสั้นๆที่จัดเรียงอยู่ในหน้าโฮมเพจได้ถูกเชื่อมโยงไปสู่หน้าเว็บเพจ ซึ่งเป็นหัวข้อย่อยและเชื่อมโยงไปสู่เว็บเพจรายละเอียด ซึ่งเป็นข้อมูลการเรียนการสอนในแต่ละส่วนตามลำดับความสำคัญ โดยผู้เรียนเพียงคลิกเม้าท์เลือกเรียนในหัวข้อซึ่งเป็นเนื้อหาหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่ตนเองสนใจได้ตามต้องการ เช่น เว็บเพจประกาศข่าว เว็บเพจประมวลวิชา เว็บเพจเนื้อหา เว็บเพจแสดงความคิดเห็น เว็บเพจสรุปบทเรียน เว็บเพจตอบปัญหา เว็บเพจแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ เว็บเพจการประเมินผล และเว็บเพจอื่นๆตามที่ถูกออกแบบไว้

ข้อจำกัดของการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนมีหลายประการดังนี้
  1. อุปกรณ์และซอฟแวร์ในการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน มีราคาแพง ดังนั้น การเรียนการสอนด้วยวิธีนี้จึงมีข้อจำกัดในกลุ่มนักเรียนและโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่มีฐานะค่อนข้างดี 
  2. มีความล่าช้าในการรอข้อมูลย้อนกลับ การเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนมักจะเป็นการเรียนต่างเวลาตามความพร้อมของผู้เรียนและผู้สอน ดังนั้นนักเรียนจึงไม่สามารถได้รับคำตอบโดยทันทีเมื่อต้องการซักถามผู้สอน ซึ่งแตกต่างจากการเรียนการสอนในห้องเรียนแบบปกติที่สามารถโต้ตอบกันได้โดยทันที
  3. ผู้เรียนต้องมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี มิฉะนั้นสิ่งเหล่านี้จะเป็นอุปสรรคสำคัญในการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน
    ปฎิสัมพันธ์ทางการเรียนไม่มีความเป็นธรรมชาติและมีน้อยเกินไป แม้ว่าการเรียนการสอนแบบห้องเรียน
  4. เสมือนจะมีช่องทางที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนอื่นๆได้ แต่มนุษย์ก็ยังต้องการ การติดต่อสื่อสารที่เห็นหน้า เห็นตา ท่าทาง และการแสดงออกในลักษณะต่างๆเพื่อให้เกิดความรู้สึก ความเข้าใจและความเชื่อมั่นทางความคิด ซึ่งการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนไม่สามารถตอบสนองข้อสงสัยหรือให้คำชี้แนะโดยทันทีอย่างไม่มีอุปสรรค
  5. ผู้เรียนส่วนใหญ่ยังขาดความรับผิดชอบในการเรียนด้วยตนเองซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญในการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน
  การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนนับเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ช่วยลดข้อจำกัดในด้านต่างๆทางการศึกษาได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความพอใจ ตามความพร้อมทั้งทางด้านเวลา สถานที่และความสามารถทางสติปัญญา การเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนนี้ สามารถจัดได้ทั้งแบบการศึกษาในโรงเรียน นอกโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัยส่งผลให้คนส่วนใหญ่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต อย่างไรก็ตามยังมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดห้องเรียนเสมือนอยู่อีกมาก เช่น ระบบบริหารจัดการของห้องเรียนการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการเรียน และสิ่งที่การเรียนในห้องเรียนเสมือนไม่มีก็คือ ปฏิสัมพันธ์ทางด้านสังคมระหว่างผู้เรียนด้วยกัน สิ่งเหล่านี้คือคำถามที่ต้องคิดว่าห้องเรียนเสมือนจะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไร

แม้ว่าต้นทุนในการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนจะสูงมาก แต่ถ้าหากมีการบริการจัดการจนมีประสิทธิภาพและเป็นที่แพร่หลายแล้ว ผลกำไรจะเกิดขึ้นกับสังคมและประเทศชาติในรูปของคนส่วนใหญ่ของประเทศได้รับความรู้ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาส่วนต่างๆของประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

ความคิดรวบยอด

ห้องเรียนเสมือน เป็นการจัดสิ่งแวดล้อมในความว่างเปล่า (space) โดยอาศัยศักยภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เป็นการจัดประสบการณ์เสมือนจริงแก่ผู้เรียน นอกจากนั้นยังมีสิ่งสนับสนุน อื่นๆที่จะช่วยทำให้การมีปฏิสัมพันธ์แบบเผชิญหน้าที่บางโอกาสอาจจะเป็นไปไม่ได้หรือเป็นไปได้ยากนั้นสามารถกระทำได้เสมือนบรรยากาศการพบกันจริงๆกระบวนการทั้งหมดดังที่กล่าวมานี้มิใช่เป็นการเดินทางไปโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยแต่จะเป็นการเข้าถึงทางด้านการพิมพ์การอ่านข้อความหรือข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่มีซอฟแวร์เพื่อควบคุมการสร้างบรรยากาศแบบห้องเรียนเสมือน การมีส่วนร่วมจะเป็นแบบภาวะต่างเวลา ซึ่งทำให้มีผู้เรียน ในระบบห้องเรียนเสมือนสามารถเชื่อมต่อเข้าไปศึกษาได้ทุกที่ทุกเวลา

ห้องเรียนเสมือน

หมายถึง การจัดประสบการณ์เรียนรู้ในรูปแบบของ software โดยมีวัตถุประสงค์ ที่จะช่วยสนับสนุนให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้โดยสามารถเลือกเวลาและสถานที่ที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดห้องเรียน รวมถึงการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้หรือไม่ นอกจากนั้นสิ่งที่เราเรียนในห้องเรียนเสมือนมีคือ การปฏิสัมพันธ์หรือสังคมระหว่างผู้เรียนด้วยกัน เป็นสิ่งที่ต้องคิดว่าห้องเรียนเสมือนจะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไร
เนื่องจากการเรียนการสอนแบบเดิมมีข้อจำกัด ดังนี้
  1. สถานที่จำกัดเฉพาะในห้องเรียน
  2. การเรียนรู้จำกัดเฉพาะกับครู ผู้เรียน และตำรา
  3. เวลาในการจัดการเรียนการสอน
  4. โอกาสในการเรียนการสอน สถานที่เรียนไม่เพียงพอผู้ประสงค์จะเรียน
  5. สัดส่วนของครูและนักเรียนไม่เหมาะสม
เป้าหมายของห้องเรียนเสมือนเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลสามารถเข้าถึงและได้รับการศึกษาหลังมัธยมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมายเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงเข้ากับคำกล่าวที่ว่า “ถ้าคุณไม่ได้เข้าชั้นเรียนบางทีอาจจะทำให้คุณเรียนได้ไม่มาก” นอกจากนั้นเป้าหมายประการสำคัญ ทีสอดคล้องและเป็นปัจจัยของห้องเรียนเสมือนคือ การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative learning) เป้าหมายพัฒนาโอกาสของการเข้าถึงการศึกษาอาจจะพิจารณาแนวคิดกว้างๆที่เกี่ยวกับห้องเรียนเสมือนในประเด็นต่างๆต่อไปนี้
  1. ทำเลเป้าหมาย ผู้เรียนอาจจะเลือกเรียนรายวิชาใดๆจากผู้สอนคนใดคนหนึ่งทั่วโลกหากมีการเปิดโอกาสให้ลงทะเบียนเรียนได้โดยไม่มีขีดจำกัดในเรื่องพื้นที่
  2. เวลาที่ยืดหยุ่น ผู้เรียนอาจจะมีส่วนร่วมได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืนการได้รับข้อมูลย้อนกลับจากผู้สอนและเพื่อนที่เรียนร่วมกันจะไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา
  3. ไม่มีการเดินทาง ผู้เรียนสามารถทำงานและศึกษาอยู่ที่บ้านได้อย่างสะดวกสบายซึ่งอาจจะเป็นข้อดีสำหรับผู้เรียนที่มีอุปสรรค อันเนื่องมาจากความพิการทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องเดินทางหรือแม้แต่ผู้เรียนที่มีภาระด้านครอบครัว ปัจจัยประการนี้นับเป็นโอกาสที่ทำให้ทุกคนมีทางเลือกและความสะดวกสบาย
  4. ประหยัดเวลา ผู้เรียนที่จำเป็นต้องเดินทางไปสถานศึกษาถ้าเรียนจากห้องเรียนเสมือนจะประหยัดการเดินทาง
  5. ทำงานร่วมกัน ด้วยภาพทางเทคโนโลยี ทำให้ผู้เรียนสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้ง่ายดาย ในขณะที่การแลกเปลี่ยนข้อมูลในห้องเรียนปกติ กระทำได้ยาก ผู้เรียนในระบบห้องเรียนเสมือนจะสามารถอธิบายปัญหาร่วมกัน แลกเปลี่ยนโครงงานซึ่งกันและกันได้
  6. โอกาสการมีส่วนร่วม ด้วยระบบสื่อสารด้วยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง สามารถเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกัน ในการถามคำถาม การให้ข้อสังเกตและการทำกิจกรรมร่วมกัน
นอกจากจุดเด่นของห้องเรียนเสมือนที่กล่าวมาแล้วนั้นในทางกลับกัน ข้อจำกัดของห้องเรียนเสมือนอาทิเช่น
  1. แหล่งเรียนมีจำกัด ในปัจจุบันยังมีสถาบันที่เสนอรายวิชาแบบห้องเรียนเสมือนจำกัดมากทำให้ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับแหล่งที่จะเรียนในปัจจุบัน
  2. เครื่องมือที่จำเป็น ผู้เรียนจะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ และโมเด็มที่บ้าน หรือที่ทำงานพร้อมที่จะติดต่อเชื่อมเข้ากับโปรแกรมห้องเรียนเสมือน ดังนั้น การเรียนในระบบห้องเรียนเสมือน จึงดูคล้ายกับผู้เรียนจะต้องมีฐานะทางเศรษฐกิจดีพอสมควรหรือไม่ก็จะต้องทำงานในองค์กรที่มีอุปกรณ์เหล่านี้ และพร้อมจะสนับสนุนให้เข้าเรียนได้
  3. การให้ข้อมูลย้อนกลับล่าช้า การสื่อสารในชั้นเรียนปกติ จะเป็นการสื่อสารแบบพบหน้า การถามคำถามจะได้รับคำตอบทันทีทันใดแต่ในสื่อที่มีการเรียนแบบภาวะต่างเวลาอาจจะต้องรอข้อมูลย้อนกลับ อาจจะเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน ยิ่งไปกว่านั้นบางครั้งผู้สอนอาจจะทำให้ข้อมูลย้อนกลับแบบเป็นกลุ่มแบบรวมๆ มิได้เฉพาะเจาะจง ให้กับผู้เรียนคนใดคนหนึ่งอย่างไรก็ตามการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีทันใดสำหรับห้องเรียนเสมือน สามารถกระทำได้ ถ้าผู้ที่ร่วมเรียนทุกคนติดต่อกันแบบอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์พร้อมๆกัน การพูดคุยการให้ข้อมูลย้อนกลับกันและกันจะต้องมีการเตรียมข้อความสำเร็จรูป จะทำให้การติดต่อระหว่างกันและกันภายในกลุ่มรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่โดยส่วนมากและการเรียนแบบห้องเรียนเสมือนมักจะนิยมใช้แบบภาวะต่างเวลา จึงทำให้คำตอบที่ได้รับล่าช้าออกไป
  4. ทักษะเอกสาร ผู้เรียนที่จะเรียนในระบบห้องเรียนเสมือน จะต้องมีทักษะในการอ่านและการเขียนเป็นอย่างดีเพราะผู้เรียนต้องใช้ทักษะในการใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อการติดต่อสื่อสาร การใช้ซอฟต์แวร์ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาขัดข้องจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้
    เปรียบเทียบลักษณะห้องเรียนเสมือนกับห้องเรียนปกติ
ห้องเรียนเสมือน
ห้องเรียนปกติ
การพิมพ์และการอ่าน
การพูดและการฟัง
สถานที่เรียนใดก็ได้ เวลาใดก็ได้
มีการกำหนดตารางเวลาเรียน
การจดบันทึกถูกบันทึกโดยอัตโนมัติ
ผู้เรียนต้องจดบันทึก
คอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของการอำนวยความสะดวก
คอมพิวเตอร์ไม่ได้ถูกกำหนดสำหรับผู้เรียน



 ความคิดเห็นเกี่ยวกับห้องเรียนเสมือน

   การเรียนแบบห้องเีรียนเสมือนนับว่าเป็นการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามอัธยาศัยและสะดวกต่อการเรียนมากไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไดเราก็สามารถเรียนได้ตลอด และเป็นการช่วยให้ผู้ที่ไม่มีเวลามาเรียนที่ห้องเรียนก็จะสามารถเรียนที่จะเรียนที่ไหนก็ได้ แต่สิ่งสำคัญที่ห้องเรียนเสมือนไม่มีแบบห้องเรียนที่เป็นอยูาคือปฎิสัมพันธ์กันระหว่างนักเรียนกับครูและนักเรียนกับนักเรียน

ข้อดี

1. สามารถลงทะเบียนเรียนรายวิชาใดๆ จากผู้สอนคนใดคนหนึ่งทั่วโลก

2. ได้รับข้อมูลย้อนกลับจากผู้สอนและเพื่อนได้ตลอดเวลา
3. ผู้เรียนสามารถศึกษาอยู่ที่ทำงานหรือที่บ้านได้
4. ประหยัดเวลา
5. ทำให้ผู้เรียนสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้ง่าย

ข้อเสีย

1. อุปกรณ์และซอฟแวร์ในการเรียนการสอนมีราคาแพง
2. มีความล่าช้าในการรอข้อมูลย้อนกลับ
3. ผู้เรียนต้องทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี
4. ผู้เรียนยังขาดความรับผิดชอบในการเรียนด้วยตนเองซึ่งเป็นคุณลักษณะสำคัญในการเรียนแบบ      ห้องเรียนเสมือน


ผลกระทบต่อตนเอง

1. ไม่มีเวลาที่จะเข้ามาดูข้อมูล

2. ขาดการอบรมเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์


ผลกระทบต่อสังคม

1. การเรียนการสอนแบบเดิมจะหายไป

2. สถานศึกษาจะขาดแคลนนักศึกษา
3. การจักระบบการศึกษาจะไม่มีระเบียบ
4. ต้องมีการติดตั้งระบบอินเตอร์ให้มากขึ้น



แหล่งที่มา
1. http://www.kroobannok.com/24048








วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ              นาย สราวุฒิ เกบหมีนชื่อเล่น        ซอล ซอลที่อยุ่            วิทยาลัยเทคโนโลยีสงขลา (สอ)เบอร์โทร     0805405005